วันพุธที่ 1 ตุลาคม พ.ศ. 2551

พระประจำวันเกิด

พระพุทธรูปอยู่ในพระอิริยาบถยืน ลืมพระเนตรทั้งสองเพ่งไปข้างหน้า พระหัตถ์ทั้งสองห้อยลงมาประสานกันอยู่ระหว่างพระเพลา (ตัก) พระหัตถ์ขวาซ้อนเหลื่อมพระหัตถ์ซ้าย อยู่ในพระอาการสังวรทอดพระเนตรดูต้นพระศรีมหาโพธิ์

ประวัต ่อ...
เมื่อพระพุทธองค์ได้ตรัสรู้แล้ว จึงประทับยับยั้งเสวยวิมุตติสุขอยู่ใต้ร่มโพธิ์เป็นเวลา ๗ วัน จากนั้นจึงเสด็จออกไปจากภายใต้ร่มโพธิ์ไปประทับยืนอยู่ทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือ (อีสาน) ทอดพระเนตรพระศรีมหาโพธิ์ โดยไม่กระพริบพระเนตรเป็นเวลา ๗ วัน เพื่อรำลึกถึงคุณประโยชน์ของต้นมหาโพธิ์ที่แผ่กิ่งก้านประทานร่มเงา ให้ความชุ่มเย็น เป็นการอำนวยช่วยพระองค์จนได้ตรัสรู้เป็นพร ะพุทธเจ้า

"ปาง ายเนตร"
พระพ ุท รูปอยู่ในพระอริยาบถยืน ยกพระหัตถ์ทั้งสองแบตั้งขึ้นยื่นออกไปข้างหน้าเสมอพระอุระ (อก) เป็ กิริยาห้าม บางแบบเป็นพระทรงเครื่อง (บางตำราใช้พระปางห้ามพยาธิเป็นพระประจำวันจันทร์)
ประวัติย่อ...

ครั้งหนึ่ง ได้เกิดโรคระบาดครั้งใหญ่ขึ้นในเมืองไพศาลี มีประชาชนล้มตายเป็นจำนวนมาก กษัตริย์ลิจฉวี เจ้าผู้ครองเมืองจึงได้กราบบังคมทูลอาราธนาพระ พุทธองค์ ให้เสด็จมาโปรดชาวเมือง พระพุทธองค์ทรงรับสั่งให้พระอานนท์ จริญรัตนสูตรและประพรมน้ำพระพุทธมนต์รอบพระนคร จน ต่อมาภายหลังโรคร้ายก็หายสิ้นจากพระนครด้วยพุทธานุภาพ

"ปางห้ามญาติ" "ปางห้ามญาติ"

พระพุรูปอยู่ในพระอริยาบถนอนตะแคงขวา พระบาททั้งสองข้างซ้อนทับเสมอกัน พระหัตถ์ซ้ายทาบไปตามพระวรกาย พระหัตถ์ขวาตั้งขึ้นรับพระเศียรและมีพะเขนย (หมอน) รองรับ บางแบบพระเขนยวางอยู่ใต้พระกัจฉะ (รักแร้)





"ปางโปรดอสุรินทราหู (ปางไสยาสน์)"
ประวัติย่อ
...
สมัยหนึ่ง เมือ่พระพุทธองค์ประทับอยู่ ณ วัดเชตวัน ในพระนครสาวัตถี ครั้งนั้นอสุรินทราหูจอมอสูร ซึ่งสำคัญว่ามีร่างโตใหญ่กว่าพระพุทธเจ้า จึงไม่ยอมแสดงความอ่อนน้อม พระพุทธองค์ทรงประสงค์จะลดทิฐิจองอสูร จึงทรงเนรมิตกายให้ใหญ่โตกว่าจอมอสูร จอมอสูรจึงละทิฐิยอมอ่อนน้อมต่อพระพุทธองค์


"ปางอุ้มบาตร"

พระพุทธรูปอยู่ในพระอริยาบถยืน พระหัตถ์ทั้งสองประคองบาตรราวสะเอว

ประวัติย
่อ...
ครั้งหนึ่ง หลังจากพระสัมมาสัมพุทธเจ้าได้ทรงแสดงธรรมเวสสันดรชาดก โปรดพระพุทธบิดาและหมู่พระญาติทั้งหลาย บรรดาพระประยูรญาติต่างมีความแช่มชื่นโสมนัส จนลืมกราบทูลอาราธนาพระพุทธองค์ให้มารับภัตตาหารเช้าในพระพราชวัง ดังนั้น ในวันรุ่งขึ้น พระสัมมาสัมพุทธเจ้า จึงเสด็จออกรับบิณฑบาตจากประชาชนทั่วไปในกรุงกบิลพัสดุ์

"ปางปาลไลยก์ (พระประจำวันพุธกลางคืน)"

พระพุทธรูปอยู่ในพระอริยาบถประทับ (นั่ง) บนก้อนศิลา พระบาททั้งสองวางบนดอกบัว พระหัตถ์ซ้ายวางคว่ำบนพระขนุ (เข่า) พระหัตถ์ขวาวางหงาย นิยมสร้างช้างหมอบใช้งวงจับกระบอกน้ำ อีกด้านหนึ่งมีลิงถือรวงผึ้งถวาย
ประวัติย่อ...
ครั้งหนึ่ง
พระภิกษุในวัดโฆสิตาราม เมืองโกสัมพีทะเลาะกันด้วยเรื่องพระวินัย พระพุทธเจ้าตรัสสอนให้สามัคคีกันเท่าไหร่ก็ไม่ยอมเชื่อ เพราะต่างฝ่าย ต่างยึดถือในความคิดของตนเป็นใหญ่ พระพุทธองค์ ทรงรอาพระทัยจึงเสด็จหนีไปจำพรรษาอยู่ในป่ารักขิตวัน แถบหมู่บ้านปาลิเลยยกะ ณ ที่นั่นมีช้างชื่อปาลิเลยยะและลิงตัวหนึ่งคอยอุปัฏฐากอยู่


"ปางสมธิหรือปางตรัสรู้"

พระพุทธรูปอยู่ในพระอริยาบถประทับ (นั่ง) ขัดสมาธิ พระหัตถ์ทั้งสองวางหงายซ้อนกันบนพระเพลา (ตัก) พระหัตถ์ขวาทับพระหัตถ์ซ้าย พระชงฆ์ (แข้ง) ขวาทับพระชงฆ์ซ้าย

ประวัติย่อ...
ภายหลังจากที่พระมหาบุรุษได้กำราบพรยามารลงได้แล้ว พระองค์จึงได้ตั้งพระทัยเจริญสมาธิจนได้ญาณขั้นต่างๆ และในที่สุดก็ได้บรรลุอนุตตรสัมมาสัมโพธิญาณ ตรัสรู้เป็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ในเวลาเช้าตรู่ของวันเพ็ญขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน ๖
(วันวิสาขบูชา)


"ปางรำึง"

พระพุทธรูปอยู่ในพระอริยาบถยืน พระหัตถ์ทั้งสองประสานกันยกขึ้นประทับที่พระอุระ (อก) พระหัตถืขวาทับพระหัตถ์ซ้าย

ประวัติย่อ...
ภายหลังจากที่ตรัสรู้ได้ไม่นาน พระสัมมาสัมพุทธเจ้า ซึ่งประทับอยู่ภายใต้ต้นไทร (อชปาลนโครธ) ก็ได้ทรงรำพึงถึงธรรมที่ได้ตรัสรู้นั้นว่าเป็นธรรมที่ละเอียดลึกซึ่งยากแก่การเข้าใจ จึงทรงรู้สึกอ่อนพระทัยในการที่จะนำออกแสดงโปรดสัตว์ แต่เพราะพระมหากรุณาคุณของพระองค์ ซึ่งได้พิจารณาเห็นว่าสรรพสัตว์มีภูมิต่างกัน จึงทรงพระดำริที่จะแสดงธรรม ตามภูมิชั้นแห่งปัญญาสรรพสัตว์นั้นๆ


"ปางนคปรก"
พระ พุทธรูปอยู่ในพระอริยาบถประทับ (นั่ง) ขัดสมาธิ หงายพระหัตถ์ทั้งสองวางซ้อนกันบนพระเพลา (ตัก) พระหัตถ์ขวาซ้อนทับพระหัตถ์ซ้ายเหมือนปางสมาธิ แต่มีพญานาคขนดร่างเป็นวงกลมเป็นพุทธบัลลังก์และแผ่พังพานปกคลุมอยู่เหนือ พระเศียร

ประวัติย่อ...

รั้งเมื่อพระสัมมาสัมพุทธเจ้าประทับเสวยวิมุตติสุขอยู่ใต้ต้นจิก (มุจจลินท์) บังเอิญในช่วงนั้นมีฝนตกพรำๆ ตลอด ๗ วัน พระยานาคมุจลินท์ได้เลื้อยมาทำขนดล้อม พระวรกายของพระพุทธองค์ ๗ ชั้นแล้วแผ่พังพานปกไว้ในเบื้องบนเหมือนกั้นฉัตร ด้วยประสงค์จะกำบังลมฝนมิให้ต้องพระวรกาย

ประวัติสมเด็จพระสังฆราช
สมเด็จพระสังฆราช เป็นตำแหน่งที่มีมานานแล้ว ตั้งแต่สมัยกรุงสุโขทัย ดังมีหลักฐานจากศิลาจารึก ของพ่อขุนรามคำแหงมหาราช ได้จารึกคำว่าสังฆราชไว้ด้วย
สมเด็จพระสังฆราชสกลมหาสังฆปรินายก เป็นตำแหน่งสมณศักดิ์สูงสุดฝ่ายพุทธจักรของคณะสงฆ์ไทย ทรงเป็นประธานการปกครองคณะสงฆ์ ตำแหน่งนี้น่าจะมีที่มาจากคณะสงฆ์ไทย นำแบบอย่างมาจาก ลัทธิลังกาวงศ์ ซึ่งพ่อขุนรามคำแหงมหาราช ได้ทรงอัญเชิญพระเถระผู้ใหญ่ของลังกา ที่เชี่ยวชาญในพระไตรปิฎก เข้ามาเผยแผ่พระพุทธศาสนาฝ่าย เถรวาทในประเทศไทย
ในสมัยกรุงศรีอยุธยา ได้เพิ่มตำแหน่งสมเด็จพระสังฆราชเป็น สกลมหาสังฆปรินายก มีอำนาจว่ากล่าวออกไปถึงหัวเมือง โดยมีพระสมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ เจ้าคณะใหญ่ฝ่าย คามวาสี เป็นสังฆราชขวา สมเด็จพระวันรัตเจ้าคณะฝ่ายอรัญวาสี เป็นสังฆราชซ้าย องค์ใดมีพรรษายุกาล
มากกว่า ก็ได้เป็นพระสังฆราช ในปลายสมัยกรุงศรีอยุธยา พระอริยมุนี ได้ไปสืบอายุพระพุทธศาสนาที่ลังกาทวีป มีความชอบมาก เมื่อกลับมาได้รับสมณศักดิ์สูงขึ้นตามลำดับจนเป็นสมเด็จพระสังฆราช พระเจ้าเอกทัศน์มีพระราชดำริให้คงราชทินนามนี้ไว้ จึงทรงตั้งราชทินนามสมเด็จพระสังฆราชเป็น สมเด็จพระอริยวงศาสังฆราชาธิบดี และมาเป็น สมเด็จพระอริยวงศาญาณ ในสมัยกรุงธนบุรี และได้ใช้ต่อมาจนถึง รัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้า ฯ จึงได้ทรงปรับปรุงเพิ่มเติมเป็น สมเด็จพระอริยวงศาคตญาณ ซึ่งได้ใช้มาจนถึงปัจจุบัน
ตามทำเนียบสมณศักดิ์ตั้งแต่ครั้งกรุงศรีอยุธยา ที่มีตำแหน่งสังฆปรินายก ๒ องค์ ที่เรียกว่า พระสังฆราชซ้าย ขวา ดังกล่าวแล้ว ยังมีคำอธิบายอีกประการหนึ่งว่า สมเด็จพระอริยวงศ์ เป็นพระสังฆราชฝ่ายขวาว่า คณะเหนือ พระพนรัตน์เป็นพระสังฆราชฝ่ายซ้ายว่า คณะใต้ มีสุพรรณบัตรจารึกพระนามเมื่อทรงตั้งทั้ง ๒ องค์ แต่ที่สมเด็จพระพนรัตน์ โดยปกติไม่ได้เป็นสมเด็จ ส่วนพระสังฆราชฝ่ายขวานั้นเป็นสมเด็จทุกองค์
จึงเรียกว่าสมเด็จพระสังฆราช จึงเป็นมหาสังฆปรินายก มีศักดิ์สูงกว่าพระสังฆราชฝ่ายซ้าย ที่พระพนรัตน์แต่เดิม ทรงยกเกียรติยศเป็นสมเด็จแต่บางองค์ มาในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย จึงเป็นสมเด็จทุกองค์ เมื่อครั้งกรุงสุโขทัยเป็นราชธานี วิธีการปกครองพระราชอาณาจักรในครั้งนั้น หัวเมืองใหญ่ที่ห่างไกลจากราชธานี เป็นเมืองประเทศราชโดยมาก แม้เมืองใหญ่ที่อยู่ใกล้ราชธานี ก็ตั้งเจ้านายในราชวงศ์ออกไปครอง ทำนองเจ้าประเทศราช เมือง
ใหญ่แต่ละเมือง จึงน่าจะมีสังฆราชองค์หนึ่ง เป็นสังฆปรินายกของสังฆบริษัทในเมืองนั้น ดังปรากฎเค้าเงื่อนในทำเนียบชั้นหลัง ยังเรียกเจ้าคณะเมืองว่าพระสังฆราชอยู่หลายเมือง จนมาถึงรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้า ฯ จึงได้ทรงเปลี่ยนมาเป็นสังฆปาโมกข์
พระสงฆ์ฝ่ายคามวาสีและอรัญวาสีนี้มีมาแต่ครั้งพุทธกาล คือฝ่ายที่พำนักอยู่ใกล้เมืองเพื่อศึกษาพระธรรมวินัย เรียกว่า คามวาสี อีกฝ่ายหนึ่งบำเพ็ญสมณธรรมในที่สงบเงียบตามป่าเขา ห่างไกลจากบ้านเมืองเรียกว่า อรัญวาสี ภิกษุ แต่ละฝ่ายยังแบ่งออกเป็นคณะ แต่ละคณะจะมีพระราชาคณะปกครอง หัวหน้าพระราชาคณะเรียกว่า สมเด็จพระราชาคณะ
แบบแผนการปกครองคณะสงฆ์ของไทย เริ่มจัดวางหลักตั้งแต่สมัยกรุงสุโขทัย มีการพัฒนาเพิ่มเติมใน สมัยกรุงศรีอยุธยาและต่อมาในสมัยกรุงรัตนโกสินทร์ ก็ได้มีการปรับปรุงเปลี่ยนแปลงบ้างเล็กน้อยมาตามลำดับ จนถึงรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระปกเกล้า ฯ การปกครองคณะสงฆ์ก็ยังจัดโดยมีตำแหน่งเปรียบเทียบดังนี้
สกลสังฆปรินายก ได้แก่สมเด็จพระสังฆราช
มหาสังฆนายก ได้แก่เจ้าคณะใหญ่
สังฆนายก ได้แก่เจ้าคณะรอง
มหาสังฆปาโมกข์ ได้แก่เจ้าคณะมณฑล
สังฆปาโมกข์ ได้แก่เจ้าคณะจังหวัดที่เป็นพระราชาคณะ
สังฆวาห ได้แก่เจ้าคณะจังหวัดที่เป็นพระครู
ใน สมัยพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้า ฯ ได้โปรดเกล้า ฯ ให้สถาปนาเปลี่ยนคำนำพระนามพระบรม ราชวงค์ผู้ดำรงสมณศักดิ์ในตำแหน่งสมเด็จพระสังฆราชขึ้นใหม่ว่า สมเด็จพระมหาสมณเจ้า ทรงเศวตฉัตร ๕ ชั้น พระราชวงค์ชั้นรองลงมา เท่าที่ปรากฎ มีชั้นหม่อมเจ้าผู้ได้รับสถาปนาเป็นสมเด็จพระสังฆราช มีคำนำหน้า พระนามว่า สมเด็จพระสังฆราชเจ้า ทรงฉัตร ๕ ชั้น
ตามพระราชบัญญัติคณะสงฆ์ พุทธศักราช ๒๕๐๕ ได้บัญญัติถึงตำแหน่งสมเด็จพระสังฆราชได้ว่า ในกรณีตำแหน่งสมเด็จพระสังฆราชว่างลง ให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการประกาศนาม สมเด็จพระราชาคณะ ที่มีอาวุโสสูงสุดโดยพรรษา เพื่อปฎิบัติหน้าที่ในตำแหน่งสมเด็จพระสังฆราช จากนั้นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ นำพระนามสมเด็จพระราชาคณะ ๔ รูป คือ สมเด็จพระมหาวีรวงศ์ สมเด็จพระวันรัต สมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ และสมเด็จพระพุฒาจารย์ เสนอนายกรัฐมนตรี เพื่อนำเข้าที่ประชุมคณะรัฐมนตรี แล้วนำกราบถวายบังคมทูล ให้พระมหากษัตริย์ทรงวินิจฉัย และจะมีพระบรมราชโองการโปรดเกล้า ฯ สถาปนาสมเด็จพระราชาคณะรูปใดรูปหนึ่ง ขึ้นดำรงตำแหน่งเป็นสมเด็จพระสังฆราชต่อไป



ในสมัยกรุงรัตนโกสินทร์ปัจจุบัน มีสมเด็จพระสังฆราช 19 องค์ ดังต่อไปนี้
องค์ที่ ๑ สมเด็จพระสังฆราช (ศรี)วัดระฆังโฆสิตาราม
องค์ที่ ๒ สมเด็จพระสังฆราช (สุก) วัดมหาธาตุยุวราชรังสฤษดิ์
องค์ที่ ๓ สมเด็จพระสังฆราช (มี) วัดมหาธาตุยุวราชรังสฤษดิ์
องค์ที่ ๔ สมเด็จพระสังฆราช (สุก) วัดมหาธาตุยุวราชรังสฤษดิ์ เดิมอยู่วัดราชสิทธาราม
องค์ที่ ๕ สมเด็จพระสังฆราช (ด่อน) วัดมหาธาตุยุวราชรังสฤษดิ์ เดิมอยู่วัดสระเกศ
องค์ที่ ๖ สมเด็จพระสังฆราช (นาค) วัดราชบุรณะ (วัดเลียบ)
องค์ที่ ๗ สมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระปรมานุชิตชิโนรส วัดพระเชตุพน วิมลมังคลาราม (วัดโพธิ์)
องค์ที่ ๘ สมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระยาปวเรศวริยาลงกรณ์ วัดบวรนิเวศวิหาร
องค์ที่ ๙ สมเด็จพระสังฆราช (สา ป.ธ.๙) วัดราชประดิษฐ์สถิตมหาสีมาราม
องค์ที่ ๑๐ สมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระยาวชิรญาณวโรรส (พระองค์เจ้า มนุษยนาคมานพ ป.ธ.๕) วัดบวรนิเวศวิหาร
องค์ที่ ๑๑ สมเด็จพระสังฆราชเจ้า กรมหลวงชินวรสิริวัฒน์ ( หม่อมเจ้าภุชงค์ ป.ธ. ๕ ) วัดราชบพิธ
องค์ที่ ๑๒ สมเด็จพระสังฆราช (แพ ป.ธ. ๕) วัดสุทัศนเทพวราราม
องค์ที่ ๑๓ สมเด็จพระสังฆราชเจ้า กรมหลวงวชิรญาณวงศ์ (ม.ร.ว. ชื่น ป.ธ. ๗) วัดบวรนิเวศวิหาร
องค์ที่ ๑๔ สมเด็จพระสังฆราช (ปลด ป.ธ. ๙) วัดเบญจมบพิตร
องค์ที่ ๑๕ สมเด็จพระสังฆราช (อยู่ ป.ธ. ๙)วัดสระเกศ
องค์ที่ ๑๖ สมเด็จพระสังฆราช (จวน ป.ธ. ๙)วัดมกุฏกษัตริยาราม
องค์ที่ ๑๗ สมเด็จพระสังฆราช (ปุ่น ป.ธ. ๖) วัดพระเชตุพนวิมลมังคลาราม
องค์ที่ ๑๘ สมเด็จพระสังฆราช (วาสน์ ป.ธ. ๔) วัดราชบพิธสถิตมหาสีมาราม
องค์ที่ ๑๙ สมเด็จพระสังฆราช (เจริญ ป.ธ. ๙) วัดบวรนิเวศวิหาร (องค์ปัจจุบัน )


องค์ที่ ๑๓ สมเด็จพระสังฆราชเจ้า กรมหลวงวชิรญาณวงศ์ (ม.ร.ว. ชื่น ป.ธ. ๗) วัดบวรนิเวศวิหาร


ประวัติ
ทรงดำรงตำแหน่ง ๓๑ มกราคม ๒๔๘๘ – ๑๑ พฤศจิกายน ๒๕๐๑ ในรัชกาล ๘-๙ รวมเป็นเวลา ๑๓ ปี ๙ เดือน ๑๐ วัน
พระนามเดิม หม่อมราชวงศ์ชื่น
พระฉายา สุจิตฺโต
นามสกุล นพวงษ์
พระชนก หม่อมเจ้าถนอม
พระชนนี หม่อมเอม
ประสูติ วันที่ ๒๒ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๑๕
การศึกษา พ.ศ. ๒๔๓๗ ทรงสอบได้ ป.ธ. ๗
ทรงอุปสมบท พ.ศ. ๒๔๓๕
ทรงบรรพชา พ.ศ. ๒๔๓๐ ณ วัดบวรนิเวศวิหาร
ดำรงตำแหน่ง วันที่ ๓๑ มกราคม ๒๔๘๘
สิ้นพระชนม์ วันที่ ๑๑ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๐๑ สิริรวมพระชนมายุ ๘๕ พรรษา ๖๖


สมเด็จพระสังฆราชเจ้ากรมหลวงวชิรณาณวงศ์ เป็นสมเด็จพระสังฆราชพระองค์ที่ ๑๓ แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ ประทับอยู่ ณ วัดบวรนิเวศวิหาร ได้รับสถาปนาเป็นสมเด็จพระสังฆราชเจ้าเมื่อปี ีพ.ศ.๒๔๘๘ ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอานันทมหิดล ทรงดำรงตำแหน่งอยู่ ๑๔ พรรษา สิ้นพระชนม์ เมื่อปี พ.ศ. ๒๕๐๑พระชนมายุ ๘๖ พรรษา
พระองค์ เป็นโอรสหม่อมราชวงศ์ถนอม และหม่อม เอมประสูติเมื่อปี พ.ศ. ๒๔๑๕ ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าฯ ทรงเป็นพระราชนัดดาในพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าฯได้ถวายตัวเป็นมหาดเล็กใน สมเด็จพระบรมโอรสาธิราชเจ้าฟ้าวชิรุณหิศ ฯ สยามมงกุฏราชกุมารในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้า ฯ ได้เป็น คณะเดท ทหารม้าในกรมทหารมหาดเล็กราชวัลลภ ฯ มีหน้าที่ตามเสด็จรักษาพระองค์ ต่อมาได้บรรพชาเป็นสามเณรณวัดบวรนิเวศฯ ได้ทรงศึกษาพระปริยัติธรรมกับสมเด็จพระมหาสมณเจ้ากรมพระยาวชิรญาณวโรรส ได้ทรงเข้าสอบไล่ครั้งแรกเมื่อ ปี พ.ศ. ๒๔๓๓ ที่วัดพระศรีรัตนศาสดาราม สอบไล่ได้เปรียญ ๕ ประโยค ตั้งแต่ยังเป็นสามเณร ทรงอุปสมบทที่วัดบวรนิเวศวิหาร เมื่อปี พ.ศ. ๒๔๓๕ สอบได้เปรียญ ๗ ประโยค เมื่อปี พ.ศ. ๒๔๓๗ได้รับโปรดเกล้า ฯ ตั้งเป็นพระราชาคณะที่ พระสุคุณคณาภรณ์
พระองค์ ได้มีส่วนร่วมกับสมเด็จพระมหาสมณเจ้ากรมพระยาวชิรญาณวโรรสมาตั้งแต่ต้น คือพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้า ฯ มีพระราชประสงค์บำรุงการศึกษามณฑลหัวเมืองทรงอาราธนาสมเด็จพระมหาสมณเจ้า ให้ทรงเป็นผู้อำนวยการจัดการศึกษา มีการจัดพิมพ์แบบเรียนต่างๆ พระราชทานแก่ พระภิกษุสงฆ์ไปไว้ใช้ฝึกสอนให้ยกโรงเรียนพุทธศาสนิกชนในหัวเมืองทั้งปวงมา รวมขึ้นอยู่ในสมเด็จพระมหาสมณเจ้า เพื่อจะได้เป็นหมวดเดียวกัน พระองค์ขณะที่ดำรงสมณศักดิ์พระสุคุณคุณาภรณ์ ได้เป็นผู้อำนวยการศึกษามณฑลจันทบุรีต่อมาเมื่อปีพ.ศ.๒๔๔๕ ได้มีการออกพระราชบัญญัติลักษณะปกครองคณะสงฆ์ ร.ศ. ๑๒๑ อันเป็นผลเนื่องมาจากการจัดการพระศาสนา และการศึกษาในหัวเมืองพระองค์ก็ได้รับแต่งตั้งเป็นเจ้าคณะมณฑลจันทบุรี
พ.ศ. ๒๔๔๖ ได้เลื่อนสมณศักดิ์เสมอพระราชาคณะชั้นเทพที่ พระญาณวราภรณ์
พ.ศ. ๒๔๕๕ ได้เลื่อนสมณศักดิ์เสมอพระราชาคณะชั้นธรรมในพระราชทินนามเดิม
พ.ศ. ๒๔๖๔ ได้รับสถาปนาสมณศักดิ์เสมอพระราชาคณะชั้นธรรมพิเศษในพระราชทินนามเดิม
พ.ศ. ๒๔๖๗ ได้เป็นเจ้าคณะมณฑลอยุธยา
พ.ศ. ๒๔๗๑ โปรดเกล้าฯ สถาปนาเป็นสมเด็จพระราชาคณะในพระราชทินนามพิเศษว่า สมเด็จพระวชิรญาณวงศ์
พ.ศ. ๒๔๗๖ ทรงเป็นประธานมหาเถรสมาคม บัญชาการคณะสงฆ์แทนองค์สมเด็จพระสังฆราชเจ้า
พ.ศ. ๒๔๘๕ ทรงเป็นประธานคณะวินัยธร ตามพ.ร.บ.คณะสงฆ์ พ.ศ. ๒๔๘๔
พระองค์ทรงเป็นแม่กองสอบไล่พระปริยัติธรรมหลายครั้ง ทั้งในกรุงเทพฯ และหัวเมืองต่างจังหวัด
เมื่อสมเด็จพระสังฆราชเจ้ากรมหลวงชินวร ฯ ชราและอาพาธ ก็ได้ทรงมอบหน้าที่เจ้าคณะใหญ่คณะธรรมยุติ ให้ทรงบัญชาการแทน เมื่อปี พ.ศ. ๒๔๗๗ และเมื่อสมเด็จพระสังฆราชเจ้า ฯ สิ้นพระชนม์เมื่อปี พ.ศ. ๒๔๘๐ พระองค์ก็ได้ทรงเป็น เจ้าคณะใหญ่คณะธรรมยุติสืบต่อมา และให้ทรงจัดการปกครองคณะธรรมยุติ ที่สำคัญหลายประการ
เมื่อทรงเป็นสมเด็จพระสังฆราชเจ้าแล้ว ได้ทรงปรับปรุงการปกครองคณะสงฆ์ให้ดียิ่งขึ้น โดยจัดการปกครองคณะสงฆ์ทั้งสองนิกายคือ มหานิกายและธรรมยุติกนิกาย เมื่อปี พ.ศ. ๒๔๙๔ ดังนี้
1. การปกครองส่วนกลาง คณะสังฆมนตรีคงบริหารรวมกัน แต่การปกครองบังคับบัญชาให้เป็นไปตามนิกาย
2. การปกครองส่วนภูมิภาคให้แยกตามนิกาย
เมื่อปี พ.ศ. ๒๔๙๙ ได้โปรดเกล้า ฯ ให้สถาปนาสมณศักดิ์ และฐานันดรศักดิ์พระองค์ ขึ้นเป็นสมเด็จพระสังฆราชเจ้า กรมหลวงวชิรญาณวงศ์ ฯ ผลงานพระนิพนธ์มีอยู่เป็นจำนวนมาก พอประมวลได้ดังนี้
เมื่อปี พ.ศ. ๒๔๗๐ พระบาทสมเด็จพระปกเกล้า ฯ ได้โปรดเกล้า ฯ ให้ชำระพระไตรปิฎกฉบับ
สยามรัฐ พระองค์ได้ทรงชำระ ๒ เล่ม คือ เล่ม ๒๕ และเล่ม ๒๖
เมื่อปี พ.ศ. ๒๔๖๗ ทรงชำระอรรถกถาชาดก ภาคที่ ๓ จากจำนวน ๑๐ ภาคที่สมเด็จพระศรีสวรินทิราบรมราชเทวี พระพันวสาอัยยิกาเจ้าโปรดให้ชำระพิมพ์
หนังสือที่ทรงรจนา ได้แก่ ศาสนาโดยประสงค์ พระโอวาทธรรมบรรยาย ตายเกิด ตายสูญ ทศพิธราชธรรม พร้อมทั้งเทวตาทิสนอนุโมทนากถา สังคหวัตถุ จักรวรรดิวัตร และขัตติยพละ พุทธศาสนคติ บทความต่าง ๆ รวมเล่ม ชื่อว่า ความรู้เรื่องพระพุทธศาสนาตั้งแต่เบื้องต้น ทีฆาวุคำฉันท์ และพระธรรมเทศนาที่สำคัญได้แก่ ธรรมเทศนาทศพิธราชธรรม ในการพระราชพิธีธรรมราชาภิเษกพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ภูมิพลอดุลยเดช พระธรรมเทศนาวชิรญาณวงศ์เทศนา ๕๕ กัณฑ์
พระองค์ทรงเป็นพระราชอุปัธยาจารย์พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เมื่อเสด็จออกทรงผนวช เมื่อปี พ.ศ. ๒๔๙๙
ในงานฉลองพุทธศตวรรษในประเทศไทย รัฐบาลสหภาพพม่าได้ถวายสมณศักดิ์สูงสุดของพม่า คือ อภิธชมหารัฏฐคุรุแด่พระองค์ เมื่อปี พ.ศ. ๒๕๐๐
ที่มาของข้อมูล : http://www.heritage.thaigov.net/religion/cardinal/index1.htm

อ่านต่อ......