วันศุกร์ที่ 19 กันยายน พ.ศ. 2551

ประวัติหลวงพ่อทวด

เชิญอ่านประวัติหลวงพ่อทวด เหยียบน้ำทะเลจืดพระเครื่องที่ เผยแพร่เพื่อเป็นวิทยาทานครับ ประวัติหลวงปู่ทวด เหยียบน้ำทะเลจืด

ประวัติหลวงพ่อทวด เหยียบน้ำทะเลจืด
หลวง พ่อทวด หรือ สมเด็จพะโค๊ะ มีนามเดิมว่าปู เป็นบุตรนายหู นางจัน วัน เดือน ปี เกิดของเด็กชายปู บ้างว่าเป็นเดือน 4 ปีมะโรง ตรงกับ พ.ศ. 2125 บ้างว่าปี พ.ศ. 990 ฉลู สัมฤทธิศก บ้างว่า พ.ศ. 2131 โดยอนุมาน เข้าใจว่าคงเป็นปลายสมัยมหาธรรมราชา อาจเป็นปี พ.ศ. 2125 หือ 2131 ตอนเด็กชายปูยังเป็นทารก มีเรื่องเล่าเป็นปฏิหาริย์เอาไว้ว่าหลังจากนางจันเลิกอยู่ไฟก็ออกเกี่ยว ข้าวทันที วันหนึ่งนางไปเก็บข้าวก็เอาบุตรให้นอนในเปลใต้ต้นหว้างูบองสลาขึ้นมานอนบน เปลนั้น มารดา บิดาเห็นตกใจ งูก็เลื้อยหายไป แต่ได้คายแก้ววิเศษเอาไว้ให้ เมื่อเด็กชายปูอายุได้ 7 ขวบ บิดาได้นำไปฝากกับท่านสมภารจวงซึ่งเป็นพี่ชายของนางจันผู้เป็นมารดา (หลวงลุง) วัดกุฏิหลวง (วัดดีหลวง) เพื่อให้เล่าเรียนหนังสือ เด็กชายปูมีความเฉลียวฉลาดมากสามารถเรียนหนังสือขอมและไทยได้อย่างรวดเร็ว ครั้นอายุได้ 10 ขวบ ก็บวชเป็นสามเณรและบิดาได้มอบแก้ววิเศษให้เป็นของประจำตัว ต่อมาสามเณรปูได้ไปศึกษาต่อกับพระชินเสนที่วัดสีหยัง (สีคูยัง) ซึ่งเป็นพระอาจารย์ที่เชี่ยวชาญและมีชื่อเสียงมากมาจากกรุงศรีอยุธยา เมื่อได้อายุ 20 ปีบริบูรณ์ ได้เดินทางไปศึกษาต่อที่นครศรีธรรมราช ณ สำนักพระมหาเถระปิยทัสสี ต่อมาก็ได้เข้ารับการอุปสมบท มีฉายาว่าราโมธมฺมิโกแต่คนทั่วไปเรียกว่า เจ้าสามีรามเจ้าสามีรามได้ศึกษาอยู่ที่วัดท่าแพ วัดสีมาเมือง และวัดอื่นๆอีกหลายวัด
เมื่อ เห็นว่าการศึกษาที่นครศรีธรรมราชเพียงพอ จึงได้ขอโดยสารเรือสำเภาเดินทางไปกรุงศรีอยุธยา ขณะเดินทางถึงเมืองชุมพรเกิดคลื่นลมทะเลปั่นป่วนเรือไม่สามารถแล่นฝ่าคลื่น ลมไปได้ ต้องทอดสมออยู่ถึง 7 วัน ทำให้เสบียงอาหารและน้ำหมด บรรดาลูกเรือจึงตั้งข้อสงสัยว่าการที่เกิดอาเพศในครั้งนี้เป็นเพราะเจ้า สามีราม จึงตกลงใจส่งเจ้าสามีรามขึ้นเกาะ ได้นิมนต์ให้เจ้าสามีรามลงเรือมาดขณะที่นั่งอยู่ในเรือมาดนั้นท่านได้ห้อย เท้าแช่ลงไปในน้ำทะเล ก็บังเกิดอัศจรรย์น้ำทะเลบริเวณนั้นเป็นประกายแวววาวโชติช่วงเจ้าสามีราม จึงบอกให้ลูกเรือตักน้ำขึ้นมาดื่มก็รู้สึกว่าเป็นน้ำจืดจึงช่วงกันตักไว้จน เพียงพอ นายสำเภาจึงนิมนต์ให้ขึ้นสำเภาอีก และตั้งแต่นั้นเจ้าสามีรามเป็นชีต้น หรืออาจารย์ของเจ้าสำเภาอิน สืบมา

อภินิหาร ที่ท่านสามีรามเหยียบน้ำทะเลจืดเป็นที่โจษขานมาถึงบัดนี้และเหตุการณ์ตอน นี้เล่าเสริมพิสดารขึ้นว่า ตอนแรกนายอินเชื่อมั่นว่าพระสามีรามเป็นกาลกิณีเรือจึงต้องพายุเพราะก่อนมา ไม่เคยเป็น เมื่อคลื่นลมสงบจึงคิดจะเอาเจ้าสามีรามปล่อยเกาะ แต่ครั้นเห็นปาฏิหาริย์จึงขอขมาโทษ

ในยุคนี้และสมัยนี้ เกือบจะไม่มีชาวไทยคนใดเลย ที่จะไม่เคยได้ยินชื่อหรือได้ฟังกิติศัพท์เล่าลือเกี่ยวกับ ความศักดิ์สิทธิ์ของหลวงพ่อทวด เหยียบน้ำทะเลจืด ความศักดิ์สิทธิ์อันนี้ บ้างก็เป็นเรื่องของความคลาดแคล้วจากอุบัติเหตุสยองจากไฟไหม้หรือจากภัย พิบัติ นานัปการ และหลวงพ่อทวดมิใช่จะคุ้มครองเฉพาะด้านอุบัติเหตุเท่านั้น แม้แต่ในทางโชคลาภ ก็ให้ผลอย่างดีที่สุด ดังที่ได้ประจักษ์แก่ผู้เลื่อมใสมาแล้ว

วัดห้วยมงคล เป็นที่ประดิษฐานรูปเหมือนหลวงพ่อทวดองค์ใหญ่ที่สุดในโลก แต่เดิมใช้ชื่อว่า วัดห้วยคตตั้งอยู่ในชุมชนบ้านห้วยคต ตำบลทับใต้ อำเภอหัวหิน จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ ต่อมาพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงพระราชทานนามใหม่จากห้วยคต เป็นห้วยมงคล ซึ่งปัจจุบันใช้เป็นทั้งชื่อหมู่บ้าน วัด โรงเรียน และโครงการต่างๆ อีกมากมาย
กว่าสี่สิบปีแล้วที่หมู่บ้านห้วยมงคล เป็นที่ที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเสด็จมาเยี่ยมประชาชนด้วยโครงการ ต่างๆที่เกิดขึ้นในหมู่บ้านเพื่อสร้างความมั่นคงให้กับพสกนิกรให้มีฐานะดี ขึ้น ประชาชนมีสุขกันทั่วหน้าและโครงการต่างๆ ก็ดำเนินไปได้ด้วยดี เพราะมีส่วนราชการให้การดูแล รวมทั้งทรงอุปถัมภ์วัดห้วยมงคลไว้ให้เป็นที่พึ่งทางใจสำหรับชาวบ้าน
ต่อ มาพระครูปภัสรวรพินิจ หรือพระอาจารย์ไพโรจน์ ปภัสสโร เจ้าอาวาสวัดห้วยมงคลองค์ปัจจุบัน ซึ่งเป็นพระนักพัฒนาที่มีศีลจารวัตที่ดีงามเป็นที่เคารพของคนในชุมชนบ้าน ห้วยมงคล และพลเอกวิเศษ คงอุทัยกุลรองสมุหราชองครักษ์ได้มีดำริที่จะสร้างหลวงพ่อทวดองค์ใหญ่ที่สุดในโลกเพื่อน้อมเกล้าน้อมกระหม่อมถวายเป็นพระราชกุศล เนื่องในวันมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษาครบ 6 รอบ รวมทั้งเผยแพร่และสืบทอดพระพุทธศาสนาอีกทั้งให้เป็นที่เคารพสักการบูชาและ เป็นที่พึ่งทางใจของเหล่าพุทธศาสนิกชน

ด้วยเรื่องราวปาฏิหาริย์ของ หลวงพ่อทวด (เหยียบน้ำทะเลจืด) ที่พุทธศาสนิกชนในภาคใต้ให้ความเคารพเลื่อมใสมาเป็นเวลานาน และรู้จักกันเป็นอย่างดี จึงก่อเกิดการร่วมมือร่วมใจจากหลายองค์กรทั้งทางภาครัฐและเอกชนในการสร้าง ประติมากรรมองค์จำลองหลวงพ่อทวดองค์ใหญ่ที่สุดในโลก โดยกาลนี้สมเด็จพระนางเจ้าพระบรมราชินีนาถ ทรงเสด็จพระราชดำเนินทอดพระเนตร เททองหล่อองค์หลวงพ่อทวด เมื่อวันที่ 27 สิงหาคม 2547 และพระราชทานพระราชานุญาตให้คณะกรรมการจัดสร้างอันเชิญพระนามาภิไธยย่อ ส.ก. ขึ้นประดิษฐานที่หน้าองค์รูปหล่อองค์หลวงพ่อทวด

บัดนี้รูปหล่อ หลวงพ่อทวดองค์ใหญ่ที่สุดในโลกซึ่งหล่อด้วยโลหะผสม หน้าตักกว้าง 9.9 เมตร สูง 11.5 เมตร บนฐานสูง 3 ชั้น ชั้นล่างกว้าง 70 เมตร ยาว 70 เมตร ได้จัดสร้างเสร็จสมบูรณ์เป็นที่เรียบร้อย พร้อมที่จะให้พุทธศาสนิกชนทั่วทั้งประเทศได้เดินทางมานมัสการกราบไหว้ เคารพสักการะ ด้วยเส้นทางที่สะดวกต่อการคมนาคม

นอกจากนี้ที่วัดห้วย มงคลแห่งนี้ยังมีหลวงพ่อทวดเหยียบน้ำทะเลจืดแกละสลักจากได้ตะเคียนทองขนาด ใหญ่อายุกว่าพันปี ที่ฝังอยู่ในทรายใต้แม่น้ำยม จังหวัดแพร่ลึกกว่า 10 เมตร ชาวบ้านเชื่อกันว่าต้นไม้ที่มีแก่นสูง 1 คืบขึ้นไปจะมีรุกขเทวดาสถิตอยู่เพื่อดูแลปกป้องคุ้มครองคนที่มาสักการบูชา เมื่อนำต้นตะเคียนทองมาทำรูปเคารพ เช่นแกะเป็นหลวงพ่อทวดเหยียบน้ำทะเลจืดจึงมีอนุภาพและความศักดิ์สิทธิ์เป็น ทวีสิทธิ์ ดลบันดาลให้ทุกท่านประสบแต่ความสุขความเจริญปราศจากโรคภัยไข้เจ็บ

(
คัดลอกจากเอกสารวัดห้วยมงคล ตำบลทับใต้ อำเภอหัวหิน จังหวัดประจวบคีรีขันธ์

)

อ่านต่อ......

วันอังคารที่ 16 กันยายน พ.ศ. 2551

สวัสดีผู้เข้าชมทุกท่าน



ความสงบในใจเรา
ความหมายของพรหมวิหาร 4
- พรหมวิหาร แปลว่า ธรรมของพรหมหรือของท่านผู้เป็นใหญ่ พรหมวิหารเป็นหลักธรรมสำหรับทุกคน เป็นหลักธรรมประจำใจที่จะช่วยให้เราดำรงชีวิตอยู่ได้อย่างประเสริฐและบริสุทธิ์ หลักธรรมนี้ได้แก่
เมตตา ความปรารถนาให้ผู้อื่นได้รับสุข
กรุณา ความปราถนาให้ผู้อื่นพ้นทุกข์
มุทิตา ความยินดีเมื่อผู้อื่นได้ดี
อุเบกขา การรู้จักวางเฉย
คำอธิบายพรหมวิหาร 4
1. เมตตา : ความปราถนาให้ผู้อื่นได้รับสุข ความสุขเป็นสิ่งที่ทุกคนปรารถนา ความสุขเกิดขึ้นได้ทั้งกายและใจ เช่น ความสุขเกิดการมีทรัพย์ ความสุขเกิดจากการใช้จ่ายทรัพย์เพื่อการบริโภค ความสุขเกิดจากการไม่เป็นหนี้
และความสุขเกิดจากการทำงานที่ปราศจากโทษ เป็นต้น
2. กรุณา : ความปรารถนาให้ผู้อื่นพ้นทุกข์ ความทุกข์ คือ สิ่งที่เข้ามาเบียดเบียนให้เกิดความไม่สบายกาย
ไม่สบายใจ และเกิดขึ้นจากปัจจัยหลายประการด้วยกัน พระพุทธองค์ทรงสรุปไว้ว่าความทุกข์มี 2 กลุ่มใหญ่ๆ ดังนี้
- ทุกข์โดยสภาวะ หรือเกิดจากเปลี่ยนแปลงตามธรรมชาติของร่างกาย เช่น การเกิด การเจ็บไข้ ความแก่และ
ความตายสิ่งมีชีวิตทั้งหลายที่เกิดมาในโลกจะต้องประสบกับการเปลี่ยนแปลงทางร่างกายอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ ซึ่งรวมเรียกว่า กายิกทุกข์
- ทุกข์จรหรือทุกข์ทางใจ อันเป็นความทุกข์ที่เกิดจากสาเหตุที่อยู่นอกตัวเรา เช่น เมื่อปรารถนาแล้วไม่สมหวังก็เป็นทุกข์ การประสบกับสิ่งอันไม่เป็นที่รักก็เป็นทุกข์การพลัดพรากจากสิ่งอันเป็นที่รัก ก็เป็นทุกข์ รวมเรียกว่า เจตสิกทุกข์
3. มุทิตา : ความยินดีเมื่อผู้อื่นได้ดี คำว่า "ดี" ในที่นี้ หมายถึง การมีความสุขหรือมีความเจริญก้าวหน้า ความยินดีเมื่อผู้อื่นได้ดีจึงหมายถึง ความปรารถนาให้ผู้อื่นมีความสุขความเจริญก้าวหน้ายิ่งๆขึ้น ไม่มีจิตใจริษยา ความริษยา คือ ความไม่สบายใจ ความโกรธ ความฟุ้งซ่านซึ่งมักเกิดขึ้นเมื่อเห็นผู้อื่นได้ดีกว่าตน เช่น เห็นเพื่อนแต่งตัวเรียบร้อยแล้วครูชมเชยก็เกิดความริษยาจึงแกล้งเอาเศษชอล์ก โคลน หรือหมึกไปป้ายตามเสื้อกางเกงของเพื่อนนักเรียนคนนั้นให้สกปรกเลอะเทอะ เราต้องหมั่นฝึกหัดตนให้เป็นคนที่มีมุทิตา เพราะจะสร้างไมตรีและผูกมิตรกับผู้อื่นได้ง่ายและลึกซึ้ง
4. อุเบกขา : การรู้จักวางเฉย หมายถึง การวางใจเป็นกลางเพราะพิจารณาเห็นว่า ใครทำดีย่อมได้ดี ใครทำชั่วย่อมได้ชั่ว ตามกฎแห่งกรรม คือ ใครทำสิ่งใดไว้สิ่งนั้นย่อมตอบสนองคืนบุคคลผู้กระทำ เมื่อเราเห็นใครได้รับผลกรรมในทางที่เป็นโทษเราก็ไม่ควรดีใจหรือคิดซ้ำเติมเขาในเรื่องที่เกิดขึ้น เราควรมีความปรารถนาดี คือพยายามช่วยเหลือผู้อื่นให้พ้นจากความทุกข์ในลักษณะที่ถูกต้องตามทำนองคลองธรรม

อิทธิบาท 4

คำว่า อิทธิบาท แปลว่า บาทฐานแห่งความสำเร็จ หมายถึง สิ่งซึ่งมีคุณธรรม เครื่องให้ลุถึงความสำเร็จตามที่ตนประสงค์ ผู้หวังความสำเร็จในสิ่งใด ต้องทำตนให้สมบูรณ์ ด้วยสิ่งที่เรียกว่า อิทธิบาท ซึ่งจำแนกไว้เป็น ๔ คือ
๑. ฉันทะ ความพอใจรักใคร่ในสิ่งนั้น
๒. วิริยะ ความพากเพียรในสิ่งนั้น
๓. จิตตะ ความเอาใจใส่ฝักใฝ่ในสิ่งนั้น
๔. วิมังสา ความหมั่นสอดส่องในเหตุผลของสิ่งนั้น
ธรรม ๔ อย่างนี้ ย่อมเนื่องกัน แต่ละอย่างๆ มีหน้าที่เฉพาะของตน
ฉันทะ คือความพอใจ ในฐานะเป็นสิ่งที่ ตนถือว่า ดีที่สุด ที่มนุษย์เรา ควรจะได้ ข้อนี้ เป็นกำลังใจ อันแรก ที่ทำให้เกิด คุณธรรม ข้อต่อไป ทุกข้อ
วิริยะ คือความพากเพียร หมายถึง การการะทำที่ติดต่อ ไม่ขาดตอน เป็นระยะยาว จนประสบ ความสำเร็จ คำนี้ มีความหมายของ ความกล้าหาญ เจืออยู่ด้วย ส่วนหนึ่ง
จิตตะ หมายถึงความไม่ทอดทิ้ง สิ่งนั้น ไปจากความรู้สึก ของตัว ทำสิ่งซึ่งเป็น วัตถุประสงค์ นั้นให้เด่นชัด อยู่ในใจเสมอ คำนี้ รวมความหมาย ของคำว่า สมาธิ อยู่ด้วยอย่างเต็มที่
วิมังสา หมายถึงความสอดส่องใน เหตุและผล แห่งความสำเร็จ เกี่ยวกับเรื่องนั้นๆ ให้ลึกซึ้งยิ่งๆ ขึ้นไปตลอดเวลา คำนี้ รวมความหมาย ของคำว่า ปัญญา ไว้อย่างเต็มที่
อริยสัจ 4

มีความจริงอยู่ 4 ประการคือ การมีอยู่ของทุกข์ เหตุแห่งทุกข์ ความดับทุกข์ และ หนทางไปสู่ความดับทุกข์ ความจริงเหล่านี้เรียกว่า อริยสัจ 4
1. ทุกข์
คือ การมีอยู่ของทุกข์ เกิด แก่ เจ็บ และตายล้วนเป็นทุกข์ ความเศร้าโศก ความโกรธ ความอิจฉาริษยา ความวิตกกังวล ความกลัวและความผิดหวังล้วนเป็น ทุกข์ การพลัดพรากจากของที่รักก็เป็นทุกข์ ความเกลียดก็เป็นทุกข์ ความอยาก ความยึดมั่นถือมั่น ความยึดติดในขันธ์ทั้ง 5 ล้วนเป็นทุกข์
2. สมุทัย
คือ เหตุแห่งทุกข์ เพราะอวิชา ผู้คนจึงไม่สามารถเห็นความจริงของชีวิต พวกเขาตกอยู่ในเปลวเพลิงแห่งตัณหา ความโกรธ ความอิจฉาริษยา ความเศร้าโศก ความวิตกกังวล ความกลัว และความผิดหวัง
3. นิโรธ
คือ ความดับทุกข์ การเข้าใจความจริงของชีวิตนำไปสู่การดับความเศร้า โศกทั้งมวล อันยังให้เกิดความสงบและความเบิกบาน
4. มรรค
คือ หนทางนำไปสู่ความดับทุกข์ อันได้แก่ อริยมรรค 8 ซึ่งได้รับการหล่อ เลี้ยงด้วยการดำรงชีวิตอย่างมีสติความมีสตินำไปสู่สมาธิและปัญญาซึ่งจะปลดปล่อย ให้พ้นจากความทุกข์และความโศกเศร้าทั้งมวลอันจะนำไปสู่ความศานติและ ความเบิกบาน พระพุทธองค์ได้ทรงเมตตานำทางพวกเราไปตามหนทางแห่งความรู้แจ้งนี้

อ่านต่อ......